พึ่งรู้ข้อมูลมาว่ามันเป็นความจริง ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ความคิดของนายก (ตอนแรกผมนึกว่านายกของเราเป็นคนริเริ่ม แล้วไปหาพันธมิตรเหมือนที่เป็นมา แต่อันนี้ไม่ใช่ ถึงยังไงก็ดีเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุน) มันเป็นโครงการของทาง MIT Media Lab ซึ่งเขามีความคิดริเริ่มที่จะทำ Labtop ราคา $100 สำหรับเด็ก ๆ ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเริ่มต้นที่ ประเทศจีน ไทย บราซิล และ อียิปต์ เขาจึงได้เริ่มทำการวิจัยคิดค้น และสุดท้ายจะส่ง Spec ให้บริษัทผู้ผลิต ซึ่งต้องผลิตเป็นจำนวนมากเหมือนกัน คือต้องผลิตเป็นล้าน ๆ เครื่อง ถึงจะได้ราคานี้ และชื่อโครงการนี้ก็คือ One Labtop per Child (OLPC) สุดท้ายผลของการออกแบบก็ได้รูปร่างหน้าตามาเป็นแบบนี้
เห็นรูปตอนแรกแล้วงงกว่าเดิมอีก มันจะทำได้ยังไง $100 ทั้งบางทั้งเล็ก แถมยังสวยอีกต่างหาก ขนาดอันหนา ๆ มันยังเป็น $1,000 เลย พอไปดูรายละเอียดถึงพอเข้าใจ โดยสเป็คของมันคือ CPU 500 MHz, Memory 1 GB เข้าใจว่าน่าจะเป็นพวก Flash, Monitor 1 Megapixel, WiFi, Cell Phone (ติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือได้), USB support, มีเครื่องปั่นไฟในตัว และใช้ Linux จะเห็นว่าไม่มี Hard Drive
สิ่งที่เขาสามารถทำให้ราคามันต่ำได้คือ
1. เทคโนโลยีที่เขาคิดขึ้นมาเพื่อผลิตจอนั้นราคาถูกมาก ทำให้ราคาจออยู่ที่ $35 เท่านั้น
2. ไม่มี Hard Drive
3. ใช้ Linux
4. ผลิตเป็นจำนวนมากโดยในช่วงแรกจะผลิต 10 - 15 ล้านเครื่อง และต่อไปคาดว่าจะผลิตปีละ 100 ล้านเครื่องเลยทีเดียว
จะเห็นว่ามันบางมาก ๆ
หมุนไปหมุนมาทำเป็น Labtop, ebook, Handheld, ดูหนัง, สมุดโน๊ต, Tablet ได้ สุดยอดการออกแบบจริง ๆ สมชื่อ MIT
ตอนสะพายก็ดูเท่ห์ไม่เบาแถมปั่นไฟใช้ได้เองอีกด้วย คราวนี้หละเอา Labtop ไปใช้ตอนเลี้ยงควาย หรือขี่หลังควายได้จริง ๆ บางคนอาจจะคิดว่าสเป็คต่ำขนาดนี้จะทำอะไรได้ ถ้าเปรียบเทียบกับ Pocket PC จะเห็นว่าตัว Pocket PC สเป็คต่ำกว่านี้ทุกอย่าง สามารถดูหนัง ฟังเพลง เล่นเน็ต ทำงานเอกสารได้ เผลอ ๆ เขียนโปรแกรมได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นไอ้นี่เพียงพอแน่นอนสำหรับเด็ก ๆ
สิ่งที่ Labtop ตัวนี้ทำได้เมื่อเทียบกับเครื่องทั่ว ๆ ไปก็คือ ทำได้เหมือนกันหมดเกือบทุกอย่างยกเว้น การเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ซึ่งไม่น่าจะจำเป็นมากสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่ดีถ้าเด็ก ๆ ของเราจะได้ใช้เครื่องพวกนี้ เข้าใจว่างบประมาณต้องใช้จำนวนมากพอสมควร และรัฐบาลไม่ใช่แค่จะซื้อเครื่องให้ก็จบ เพราะจะเห็นว่าตัวเครื่องไม่มี Storage เช่นพวก Hard Drive เพราะฉะนั้นข้อมูลส่วนใหญ่จะต้องเก็บอยู่บน Server อาจจะเป็น Server ของโรงเรียน และให้เด็ก ๆ เขาสามารถเรียกใช้ข้อมูลต่าง ๆ ได้ผ่าน WiFi โรงเรียนก็ต้องลงทุนกับของพวกนี้อีกพอสมควร และก็ต้องพัฒนาบุคลากรที่เป็นครูด้านคอมพิวเตอร์ให้เก่งขึ้นไปอีก ถ้าทำได้จะเป็นประโยชน์มาก ยกตัวอย่างเช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์เป็นภาพสามมิติ ของประเทศไทย ก็สามารถส่งข้อมูลหรือโปรแกรมไปยัง Server ของทุก ๆ โรงเรียนเสร็จแล้วก็ให้นักเรียนโหลดเอาไปดูกันในห้องเรียนเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน และสามารถเอากลับบ้านไปนั่งดูอยู่เถียงนาในวันเสาร์อาทิตย์ขณะไปช่วยพ่อแม่ทำนาก็ได้
ในอนาคตถ้ามี WiMax ใช้และสามารถ Support WiMax ได้นี่เด็ก ๆ ไทยคงไปอีกไกล ถ้าโครงการนี้สำเร็จคงต้องขอบคุณ Nicholas Negroponte ผู้ริเริ่มโครงการ และถ้านายกของเราเอามาต่อยอดทำให้เป็นรูปธรรม มีบริการด้านอื่น ๆ รองรับ ไมใช่สักแต่ซื้อแจกไปอย่างเดียว ก็จะต้องขอชมนายกคนนี้อีกสักครั้ง มารอดูกันว่าอนาคตจะเป็นเหมือนที่คิดไว้หรือเปล่า
ข้อมูลเพิ่มเติม
MIT Media Lab MrPalm Manager
No comments:
Post a Comment