Wednesday, June 29, 2005

Setup Samba

หลังจากพยายามที่จะใช้งาน samba อยู่หลายวันพึ่งจะมาได้วันนี้เอง
หลังจากลงโปรแกรมแล้วและ Run service แล้วแต่ไม่สามารถ connect เข้าไปได้ เนื่องจากติดที่ไม่มี user ของ samba ตอนแรกนึกว่ามันจะไปเอา user ของ system มาใช้เลยแต่ปรากฏว่าไม่ใช่
วิธีสร้าง user นั้นทำอย่างนี้
smbpasswd -a myname
แล้วก็ใส่ password
แต่ถ้าต้องการ creae user สำหรับเครื่อง windows โดยให้ username เป็นชื่อเครื่อง

cd /usr/sbin
useradd computername$
smbpasswd -a -m computername$ -n
-a : Add
-m : Machine Account
-n : ไม่ต้องการ password

^_^ ตอนนี้ใช้ได้แล้ว มีความสุขจังเลย รู้สึกว่าวันนี้เป็นวันดีสำหรับการใช้งาน Linux เพราะทำอะไรก็สำเร็จไปหมด แต่ก็เป็นผลเนื่องมาจากการมั่ว ในหลาย ๆ วันที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นตอนที่กำลังมั่วอยู่ความรู้ไม่ได้หายไปไหนเพราะมันมาเสริมความรู้ให้วันที่สำเร็จนั่นเอง

ภาษาไทยใน Fedora

พอใช้งานไปชักขัด ๆ เพราะโฟลเดอร์ที่ตั้งเป็นภาษาไทยชัดขัด ๆ มันอ่านไม่ได้เลยก็เลยต้องหาวิธี ทำให้ Fedora ใช้งานภาษาไทยได้ ก็เลยไปเจอวิธีการที่นี่
http://www.bangkokbiznews.com/scitech/2004/0602/news.php?news=column_13172498.html

ขออนุญาต copy มาให้อ่านเลยแล้วกัน

ทีนี้ Fedora Core 2 ไม่มีปัญหากับภาษาไทยแล้ว แต่การใช้งานภาษาไทยไม่ได้ถูกตั้งมาตั้งแต่แรก จึงต้องมีขั้นตอนนิดหน่อยครับ
1. ตอนลง Fedora Core 2 ตัวติดตั้งจะถามว่าต้องการให้สนับสนุนภาษาอะไรบ้าง ให้ทำเครื่องหมายที่ภาษาไทยเข้ามาด้วย
2. เมื่อลงเสร็จและล็อกอินเข้ามาแล้ว ให้คลิกขวาที่แถบพาเนลด้านล่าง เลือก Add > Utility > Keyboard Indicator
3. จะเห็นตัวบอกภาษาขึ้นมาเป็น USA ให้คลิกขวาแล้วเลือก Open Keyboard Preference
4. จะมีหน้าต่างของการตั้งค่าคีย์บอร์ดเพิ่มเข้ามา เลือกแถบที่สาม Layouts แล้วเลือกภาษาไทยจากช่องทางขวามือ Thai (Kedmanee) กดปุ่ม Add เพื่อเพิ่มไปในช่องทางซ้าย
5. เลือกแถบที่สี่ Layout Options ช่องขวามือ หมวด Group Shift/Lock Behavior เพิ่ม Alt+Shift changes group
6. หมวด Use keyboard LED to show alternative group เพิ่ม Scroll Lock เข้าไป
เป็นอันว่าเสร็จเรียบร้อยครับ สามารถเปลี่ยนภาษาด้วยปุ่ม Alt+Shift ซ้ายมือ และไฟที่ปุ่ม Scroll Lock จะบอกว่าเป็นภาษาไทยอยู่ ถ้าใครต้องการปุ่ม ~ นั้นก็ไม่มีให้ใช้ครับ เพราะไม่ใช่ปุ่มสลับภาษามาตรฐาน (มีประเทศไทยใช้อยู่ประเทศเดียว) ดังนั้นเราควรฝึกใช้ปุ่ม Alt+Shift ให้คล่องตั้งแต่ตอนนี้ เพราะวินโดว์สตัวต่อไปคือ Longhorn อาจจะไม่มี ~ ให้ใช้ก็เป็นได้ครับ
ถึงจะใช้ภาษาไทยได้ทันทีโดยไม่ต้องลงอะไรเพิ่ม แต่ฟอนต์ไทยที่มากับ Fedora Core 2 นั้นไม่สวยและสระเลื่อน เราจึงต้องไปดาวน์โหลดฟอนต์ภาษาไทยเพิ่มจากไซต์ของลินิกซ์ทะเลครับ ที่ ftp.opentle.org เข้าไปให้ถึง linux-tle 5.5 และ RPMS ดาวน์โหลดไฟล์ที่ชื่อ thai-ui-ttf.rpm และ thai-xfont.rpm มา แล้วดับเบิลคลิกเพื่อติดตั้ง ก็จะได้ภาษาไทยสวยงามใน Fedora Core 2


ผมเองไม่ได้ double clik แต่ใช้ คำสั่ง
rpm -ivh thai-ui-ttf*****.rpm
rpm -ivh thaixfont****.rpm แทน
พอเสร็จแล้ว reboot ระบบขึ้นมา ลองเปิด xmms ฟังเพลงประวัติหลวงปู่มัน พบว่าใช้ภาษาไทยได้แล้ว แต่ต้องเข้าไปแก้ โดย clikc ขวาที่ตัว xmms
แล้วเลือก Options\Preferences
แล้ว click ที่ Fonts tab
เลือก thaismall font เพื่อให้สามารถแสดงภาษาไทยได้
ปรากฏว่าใช้งานได้ดี

แต่ใน console (Terminal) นั้นแสดงเป็นภาษาไทยได้แล้วแต่ยังตัดคำให้สระอยู่ตรงตำแหน่งไม่ได้ แต่ก็พออ่านรู้เรื่องแล้ว


ความอยากทำให้เราก้าวไปข้างหน้า เช่นกันกับความกลัว แต่บ่อยครั้งที่ความโง่และความมั่วทำให้เราพบสิ่งใหม่ ๆ

Turn on Telnet on Fedora core 2 & MP3 on Fedora

ต้องการเปิด telnet service นั่งงมอยู่ตั้งนาน config และ start ยังไงก็ใช้ไม่ได้ แล้วก็ไปอ่านเจอในเน็ตว่า ปกติแล้ว Fedora core 2 นี้เขาจะไม่ลง Package ของ telnet server มาให้เนื่องจากเหตุผลทางด้านความปลอดภัย ความไม่รู้เพียงเล็กน้อยนี่ทำให้เราโง่อย่างไม่น่าเชื่อ เสียเวลาอยู่เป็นชั่วโมง

ก็เลยเริ่มต้นใหม่ด้วยการลง telnet server แล้วก็ turn on มันซะก็ใช้ได้ ตามขั้นตอนดังนี้
ใส่แผ่น CD Fedora core 2 แผ่นที่ 3 เข้าไป (ถ้าใครใช้ core อื่นหรือ version อื่นก็ของใครของมันนะครับ) แล้วใช้คำสั่ง
su (เพื่อเป็น root ก่อน แล้วก็ใส่ user name แล้วก็ password)
cd /mnt/cdrom/Fedora/RPMS (เข้าไปที่ Directory ที่เก็บ Package)
rpm -ivh telnet-server-0.17-28.i386.rpm (ใช้คำสั่งเพื่อ install package version ก็ของใครของมันนะครับ)
พอลงเสร็จ เข้าไปที่
cd /etc/xinetd.d
vi telnet (ใช้ vi เข้าไปแก้ config ของ telnet ถ้าใครใช้ vi ไม่เป็นก็ต้องหัดใช้ก่อน หรือไม่ก็ใช้ text editor ตัวอื่นแทนก็ได้)
แก้ disable = yes เป็น
disable = no เสร็จแล้ว save
แล้วก็

/sbin/service xinetd restart (เพื่อ restart xinetd service)
เป็นอันเรียบร้อย

ถ้าอยากดูว่า service มัน run หรือเปล่า ให้ใช้คำสั่ง
/sbin/chkconfig --list
แล้วดูว่า telnet on อยู่หรือเปล่า
ถ้าอยากดูว่า chkconfig ใช้งานอย่างไรก็ใช้คำสั่ง
man chkconfig

/-------------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อวันก่อนพยายามจะแปลง ไฟล์ MP3 ไปเป็น OGG อันนี้ก็ด้วยความโง่อีกเหมือนกัน โง่ที่ไม่ไปอ่านให้ดีว่า มันมี Package เพิ่มเติมที่ต้องมาลงเอาเองเพื่อให้ xmms สามารถเล่น MP3 ได้ ทาง Fedora ไม่สามารถลงมาให้ได้เพราะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ แต่เราสามารถติดตั้งเอาเองได้ไม่มีปัญหาอะไร
เข้าไปที่ http://freshrpms.net/packages
แล้วเลือก version ของตนเอง ในที่นี้ click
Fedora Linux 2 (Tettnang) add-on packages
แล้ว click
xmms
แล้วเลือก xmms-mp3-***********.rpm
แล้วก็ install package ที่ download ไป โดยเข้าไปที่ direcotory ที่ download ไว้แล้วใช้คำสั่ง
rpm -ivh xmms-mp3-**********.rpm

แค่นี้ก็เป็นอันใช้ได้


ความโง่ไม่เคยปรานีใคร แต่บางครั้งมันก็ทำให้เราไปได้ความรู้อื่น ๆ

Monday, June 27, 2005

Fedora & MP3 to OGG Convert

ลองใช้ Linux TLE มาหลายวัน ติดนั่นติดนี่หลาย ๆ อย่าง ทำอะไรก็ติด ๆ ขัด ๆ เพราะว่าเรายังใช้ไม่เป็น อย่างเช่น เอา HDD มาต่อเพิ่มเข้าไปทีหลัง และมันโดน Format เป็น NTFS ไว้ มันมีแต่ Root เท่านั้นที่เห็นและก็สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียวด้วย หาวิธีแก้อยู่หลายวันจนหมดแรง จะฟัง MP3 ก็ลำบากเพราะ โปรแกรม xmms ไม่สามารถ Add File MP3 ให้ (อ่านตอนหลังจะรู้ว่าทำไม) นั่งงงอยู่ตั้งหลายวันนึกว่ามันเป็น Bug ของโปรแกรม Setup Samba ก็ไม่ยอมทำงาน ฯลฯ มึนอยู่หลายวันก็เลยตัดสินใจจะลงใหม่ ตอนแรกคิดว่าจะลง Redhat 9 แต่ขี้เกียจ download มาใหม่ ไปขอเพื่อน เขาก็มีแต่ Fedora ดู ๆ แล้วมันเป็นภาคต่อของ Redhat 9 เป็นส่วนที่พัฒนาต่อมาจาก Redhat 9 เพราะ Redhat เขาแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเริ่มจำหน่าย (Red Hat Enterprise Linux) และขาย Support อีกส่วนหนึ่งยังคงเป็น Opensource เต็มตัวนั่นก็คือ Fedora

ลง Fedora core 2 รอบแรกไม่ได้เลือก checkbox ที่ hdc ตอน setup ปรากฏว่า HDD ตัวที่สองก็ไม่เห็นเวลาใช้งาน (แบบว่าโง่นึกว่ามันจะเห็นทีหลัง) จะไป config เอาใหม่ก็ทำไม่เป็น ก็เลยตัดสินใจลงใหม่คราวนี้ ลบ Partition ใหม่หมด Set ให้เป็น ext3 ทั้งหมด ผลปรากฏว่าใช้ได้หมดปัญหาเรื่อง HDD แล้ว เฮ้อ.........กว่าจะได้

พอลงเสร็จก็เลยจะลองฟัง MP3 ดูเปิด xmms ขึ้นมาพอจะ Add ไฟล์ MP3 เข้าไปมันฟ้องว่า ไม่สามารถโหลด MP3 ได้ เพราะทาง Fedora ได้ถอด module ของ MP3 ออก เคยทราบมาว่าใครจะผลิต Software หรือ Hardware ที่ใช้เล่น MP3 จะต้องจ่ายเงินให้ไอ้คนที่คิด Technology นี้ 1 เครื่องต่อ $1, 1 Software ต่อ $1 สำหรับของที่เขาทำขาย ไม่ว่าจะเป็น Software หรือ Hardware คงไม่มีปัญหาเพราะเพิ่มราคาแค่ $1 ก็ได้แล้ว แต่สำหรับ Opensource บาทเดียวก็ไม่ได้เพราะเขียนเพื่อแจกฟรีอยู่แล้ว ไฟล์ที่ฟังได้จะต้องเป็น ogg เพราะว่าเทคโนโลยีที่ใช้ในการ Encode นั้นก็เป็น Opensource ไม่เหมือนกับ MP3 เพราะมีเจ้าของไปจดสิทธิบัตรไว้แล้ว ตอนแรกเขาให้ใช้ฟรี พอคนใช้เยอะ ๆ เขาก็เริ่มเก็บตังแล้ว ข้อมูลนี้เคยอ่านเจอที่ไหนจำไม่ได้แล้ว ถูกหรือผิดก็ไม่รู้ ขี้เกียจหาอ้างอิงมา เอาเป็นว่าถ้าใครอยากรู้ก็ไปหาเอาเอง แต่สรุปก็คือมันใช้ไม่ได้ ตอนที่ใช้ OpenTLE อยู่มันก็ใช้ไม่ได้แต่มันไม่ฟ้องให้รู้แบบนี้ทำให้งงนึกว่ามันเป็น Bug ของโปรแกรม ทางทีมงาน OpenTLE น่าจะทำ Message Box แจ้งให้ทราบบ้าง ทำให้หลงทางไปตั้งนาน

เพิ่มเติมวันที่ 9-August-2005
จริง ๆ แล้วเขาก็มีบอกไว้แต่พึ่งไปเจอก็เลยเอา link มาลงไว้อ้างอิง
ftp://ftp.nectec.or.th/pub/linux-distributions/Linux_TLE/waghor/i386/RELEASE-NOTES.html

ปัญหาต่อมาก็คือจะแปลงไฟล์ MP3 ที่มีอยู่ไปเป็น OGG ได้ยังไง ก็ลอง Search ดูได้ FreeRip จาก http://www.mgshareware.com/frmmain.shtml มา เป็น freeware ของ Windows ก็เลยลอง Convert ไฟล์เพลงประวัติหลวงปู่มั่น ของเพลิน พรหมแดน ไปสองเพลง ใช้เวลาหลายนาทีเหมือนกัน แล้วก็เอาไปฟังใน xmms ในเครื่องที่ลง Fedora ไว้ ก็ปรากฏว่าเล่นได้ดีเสียงก็ดีใช้ได้ ตอนลองนี้ได้ไฟล์ขนาดใหญ่เท่า ๆ กัน (จริง ๆ แล้ว ogg น่าจะเล็กกว่า)

ปัญหายังไม่จบเพราะต้องการ Convert จาก MP3 ไปเป็น OGG ใน Fedora Linux ก็หาต่อมั่วไปมั่วมาอยู่นานเหมือนกันกว่าจะ convert ได้สำเร็จ (ยากแต่ก็มันดี) ตามขั้นตอนดังนี้
ติดตั้ง oggasm
- ไปที่ http://www.gnuware.com/icecast/sect_07_04.html ไป download ไฟล์ ที่ http://oggasm.sourceforge.net/ มา โดยคลิกที่ tarball พอ Download เสร็จ ก็ install แต่ก็ยังใช้ไม่ได้เพราะต้องใช้อย่างอื่นด้วย
- ไป download mpg321 จาก sourceforg ที่ http://sourceforge.net/project/showfiles.php?group_id=36274 ที่ Download mpg321-0.2.10-1.i386.rpm แต่มันไม่ให้ลงต้องลงสองตัวหลังก่อน คือ
- libid3tag ที่ http://rpmfind.net/linux/RPM/PLD/dists/ra/PLD/i686/PLD/RPMS/mpg321-0.2.10-2.i686.html
แล้วไป click เพื่อ download สองไฟล์นี้
libid3tag.so.0 ==> http://rpmfind.net/linux/rpm2html/search.php?query=libid3tag.so.0
libmad.so.0 ==> http://rpmfind.net/linux/rpm2html/search.php?query=libmad.so.0

แล้วเลือกเอา package ที่ตรงกับเวอร์ชั่นของตัวเอง โดยผมเลือกที่ Fedora core 2 พอลงสองตัวนี้เสร็จ แล้วก็ลง mpg321 ก็ใช้งานได้แล้ว
กว่าจะได้ เหนื่อยแต่มันดีเหมือนกัน

มีอีกอันหนึ่งที่ลงไปแต่ไม่รู้ว่าเกี่ยวกันหรือเปล่า เพราะตอนทำ ทำมั่ว ๆ ก็เลยไม่รู้ว่ามันเกี่ยวข้องกันไหม นั่นก็คือ
libao-0.8.3-2.i386.rpm ที่ http://www.xiph.org/ogg/vorbis/download/

เข้าไปเจอ MAD: MPEG Audio Encoder http://www.underbit.com/products/mad/ ซึ่งมีโปรแกรมหลาย ๆ ตัวที่ใช้ engine ตัวนี้อยู่ และเขาก็บอกว่ามีอะไรบ้างที่ใช้ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากได้โปรแกรมเกี่ยวกับ Audio Encoder ให้เข้าไปดูได้ที่นี่ จะมีประโยชน์มาก

หลังจากลงเสร็จทดลอง convert เสียงเทศน์ ท่านพระอาจารย์ปราโมทย์ แผ่นที่ ๖ ที่ท่านสอนเรื่องการดูจิต แผ่นหนึ่ง ใช้เวลา ๒-๓ ชั่วโมงเหมือนกันแฮะ พอลองเอามาฟังดูปรากฏว่า speed เสียงจะเร็วเป็นสองเท่า ฟังไม่ได้เลย เกิดอะไรขึ้นเนี่ย

อุตส่าห์ลงได้สำเร็จดันใช้ไม่ได้อีกวันนี้พอแค่นี้ก่อนเหนื่อยแล้ว ^_^!

Friday, June 24, 2005

ADSL 512/256

เมื่อวานไปขอ ADSL 512/256 ของ TT&T ที่ The Mall โคราช ได้ Modem มาฟรีแต่ต้องเซ็นสัญญา 1 ปี วันนี้ก็เริ่มใช้งานได้ ดำเนินการเพียงวันเดียวก็ใช้ได้อย่างนี้ถือว่าดีมาก และ Speed ขงอ ADSL ก็ถือว่าทำงานได้เร็วเป็นที่น่าประทับใจมาก ดีกว่าใช้ Modem อันเดิมหลายเท่า Download ไฟล์ใหญ่ ๆ สิบกว่าเม็กกะไบต์ ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็เสร็จ ถ้าคนไทยทั่วประเทศได้ใช้ Net คุณภาพอย่างนี้ ทุก ๆ พื่นที่ก็คงดี ตอนนี้มีแต่เมืองใหญ่ ๆ เท่านั้นจึงจะได้ใช้ นี่ยังโชคดีที่ โคราชมีให้ใช้งาน ราคาก็แพงไปหน่อย 790 ต่อเดือน ถ้าถูกกว่านี้ซักครึ่งหนึ่งจะ Perfect มาก

Monday, June 20, 2005

Fierfox Thai Version

วันนี้เข้าลอง Search Firefox Thai Version อยู่ก็เลยไปเจอเว็บดี ๆ เลยถือโอกาส Create Blog สำหรับบันทึกการพัฒนาโปรแกรมไว้อ้างอิง
--> Hui's Blog เจ๋งจริง ๆ