Thursday, March 30, 2006

ลง MediaWiki

หลังจากจัดการกับ MySQL ได้แล้วก็ลง MediaWiki จะเอาไว้ให้คนในทีมร่วมกันทำเอกสาร เป็นฐานความรู้ขององค์กร ตอนลงก็ไม่ยาก ก็แค่ไป fetch ไฟล์มาจาก SourceForge แล้วก็ unzip แล้ว copy ไปไว้ในส่วนของเว็บ แล้วก็เรียกไฟล์ Config ระบบจะให้กรอกข้อมูลอีกนิดหน่อย ใส่ ๆ ไป ที่สำคัญต้องใส่ username กับ password ของ MySQL root ด้วยเพื่อสร้างฐานข้อมูลให้เราอัตโนมัติ ตอนสุดท้ายก็ให้ย้าย config ไฟล์ไปยัง path ที่ลงไว้ เป็นอันจบ

เขียนแบบรีบ ๆ ไม่ได้เอาคำสั่งและ Capture หน้าจอมาไว้ เพราะขี้เกียจ แล้วตอนทำมันก็รีบด้วย - -'

Wednesday, March 29, 2006

Setup MySQL บน FreeBSD

นั่งลง FreeBSD เครื่องเก่าที่บ้าน ว่าจะเอาทำเป็น Server ให้ Access จาก Internet ข้างนอก โดยผ่านทาง no-ip.com ก็เลยลง MediaWiki ว่าจะเอาไว้ให้คนใกล้ตัวใช้งานแต่ดันติดปัญหาเรื่อง MySQL ปกติเคยลง Oracle กับ MySQL บนวินโดวส์ พอเอา MySQL มาลงใน FreeBSD ถึงกับงงอยู่หลายชั่วโมง ขอบันทึกไว้หน่อยเผื่อมือใหม่ที่ไม่ค่อยเก่งแบบผมผ่านมาเจอ อาจจะเป็นประโยชน์ จริง ๆ ก็ไม่ยากเท่าไหร่นะ แบบว่าโง่นะ ต้องยอมรับ

อันนี้ผมลงเวอร์ชั่น 4 เดี๋ยวเวอร์ชั่น 5 วันหลังค่อยว่ากัน
# cd /usr/ports/databases/mysql40-server
#make install
เสร็จแล้วอย่าลืมไปเพิ่ม mysql_enable="YES" ใน /etc/rc.conf ด้วยหละ
แล้วจะสั่งสตาร์ท Service หรือลองรีสตาร์ทเพื่อความชัวร์ว่าเผื่อวันหลังเราบูทเครื่องขึ้นมามันเปิดเซอร์วิสให้เราหรือเปล่า
#reboot

หลังจากลง MySQL เสร็จแล้วสามารถ login เข้าฐานข้อมูลได้โดย
#mysql -u root mysql
เสร็จแล้วก็ตั่ง password ใหม่ซะ
mysql> set password = password("yourpassword");
แล้วก็ออกมา
mysql> quit

เสร็จแล้วลองเข้าใหม่โดยใช้ password ที่ตั้งไว้
#mysql -u root -p
มันจะขึ้นว่า
Enter password:
ก็ใส่ yourpassword ซะให้เรียบร้อย
หลังจากนั้นจะทำอะไรก็ค่อยว่ากันไป

ส่วนอันนี้ไปเจอที่ awaremag ยังไม่ลองดูไม่รู้ใช้ได้ป่าว
cd /usr/ports/databases/mysql41-server/
make install clean
/usr/local/bin/mysql_install_db
chown -R mysql:mysql /var/db/mysql/
/usr/local/etc/rc.d/mysql-server.sh start
/usr/local/bin/mysqladmin -u root password newpassword

Tuesday, March 14, 2006

Nokia 3310 PCBA

วันนี้ถ่ายรูปแผ่นวงจรมาให้ดูกัน ตามรายละเอียดที่เคยเล่าไปก่อนหน้านี้

แต่ Blogger ดัน error ขอเอารูปไปไว้ที่อื่นแล้ว link มาก็แล้วกัน (อาจจะใหญ่หน่อย)


Monday, March 13, 2006

แบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือ


พอดีนึกถึงเรื่องของแบตเตอรี่ คิดว่าหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือที่มี 3 - 4 ขั้วนั้นเขาเอาไว้ทำอะไรกัน ส่วนคนที่รู้แล้วก็อย่าถือสานะครับ ถือว่าอ่านเล่น ๆ ขำขำก็แล้วกัน

ปกติแล้วแบตเตอรี่จะมีแค่สองขั้วคือ ไฟบวก กับ ลบ เท่านั้น แต่สำหรับโทรศัพท์มือถือ เหมือนในรูปเป็นแบตเตอรี่ของ 3310 จะมีทั้งหมด 4 ขั้ว นับจากด้านซ้ายไปขวามีรายละเอียดดังนี้ VBatt, BSI, BTemp และ Ground

1. VBatt (+) เป็นไฟบวก ปกติจะมีค่าแรงดันประมาณ 3.6 V แต่ถ้าวัดดูจริง ๆ จะสูงกว่านี้นิดหน่อย
2. BSI (Battery Size Indicator) เป็นตัวที่ใช้บอกว่าแบตตัวนี้เป็นแบบหนาหรือบางความจุเท่าไหร่
3. BTemp (Battery Temperature) เป็นตัวที่ใช้บอกอุณหภูมิของแบตเตอรี่ ถ้าอุณหภูมิของแบตเปลี่ยนแปลงจะทำให้ค่าความต้านทานภายในของขานี้เทียบกับกราวด์เปลี่ยนไป ไม่เชื่อลองเอาไฟแช็คลนไกล ๆ หน่อย (เดี๋ยวระเบิดไม่รู้ด้วย) แล้วใช้ โอห์มมิเตอร์วัดดูค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลง หรือไม่ก็เอาไปแช่ตู้เย็นดูก็ได้ (แบบนี้ปลอดภัยกว่า) แต่ถ้าเป็นแบตปลอมคุณภาพห่วย ๆ บางตัวขานี้ก็ไม่ทำงาน ต้องลองกันเอาเอง
4. Ground (-) ขานี้เป็นกราวด์ (ไม่รู้จะแปลทำไม)

ส่วนแบตรุ่นใหม่ ๆ จะมีแค่สามขั้ว ขาที่หายไปคือ BSI เหลือแต่ BTemp นั่นเอง

เดี๋ยวจะลอง Short ระหว่าง (+) กับ (-) ของแบตแท้และแบตปลอมดูว่า จะเกิดอะไรขึ้น อยากรู้เหมือนกันว่าของแท้ที่โม้ ๆ ว่าตัวเองไม่ระเบิด แต่ของปลอมระเบิดนั้นจะจริงหรือเปล่า เพราะโอกาศที่โหลดจะลัดวงจรนั้นเป็นไปได้เสมอ ถ้าของแท้เจ๋งจริงต้องไม่เป็นไร ก่อนอื่นต้องหาเงินไปซื้อแบตก่อนเพราะของแท้แพงมาก

พื้นฐาน Nokia DCT3

พึ่งซ่อม Nokia 8310 เปิดไม่ติด ว่าจะเขียนไว้ซักหน่อย แต่มันง่ายมาก ก็เลยขอเกริ่นเรื่องแพลตฟอร์มของโทรศัพท์มือถือโนเกีย (เห็นฝรั่งมันออกเสียงว่า โน-กี-อะ) ให้อ่านกันเล่น ๆ ก่อน จบเรื่องนี้แล้วค่อยมาอ่านว่าเปิดไม่ติดทำยังไงก็แล้วกัน

Nokia มีหลายแพลตฟอร์มขอเริ่มต้นที่ DCT3 ซึ่งเป็นรุ่นเก่า ๆ เช่นพวก 3310 อะไรเทือกนี้ แล้วอย่าคิดว่าเก่าไม่สำคัญเพราะถ้าคุณซ่อม 3310 ได้จะเป็นพื้นฐานสำหรับรุ่นอื่น ๆ ทั้งหมด จนถึงเครื่องที่เป็นซิมเบี้ยนยันพ๊อกเก็ตพีซี

เครื่องที่อยู่ในตระกูล DCT3 ก็คือ 3210, 3310, 3330, 3350, 3390, 3410, 5110, 5130, 5146, 5190, 5210, 5510, 6110, 6130, 6150, 6210, 6250, 7110, 8210, 8250, 8290, 8850, 8890, 9000, 9110 และ 9210 ไม่รู้ว่าอนาคตจะมีอีกหรือเปล่า

วงจรต่าง ๆ ของโทรศัพท์มือถือถ้าไล่เป็นภาค ๆ ออกมาจะเหมือน ๆ กับ เอาคอมพิวเตอร์มาผสมกับ วงจรรับส่ง และจะมีไอซีตัวใหญ่ ๆ แต่ละตัวทำงานแบ่งหน้าที่กันไป
- CPU ปกติในมือถือจะเรียกว่า UPP คงไม่ต้องบอกว่าเอาไว้ทำอะไร (ไม่ได้เอาไว้ต้มไข่หรอกมั๊ง)
- RAM ไม่ต้องบอกเหมือนกัน
- ROM หรือ Flash Memory ตัวนี้ถ้าเทียบกับคอมพิวเตอร์คงจะเป็น Harddisk เพราะใช้เก็บซอฟท์แวร์ต่าง ๆ ของเครื่อง
- Antena Switch ทำหน้าที่สวิตช์สัญญาณระหว่างภาครับ และภาคส่ง ว่าใครจะใช้สายอากาศ ซึ่งมีอยู่อันเดียว (ใครเคยเห็นมือถือสองเสาบ้าง)
- RF IC แถวนี้เค้าเรียก HARGA (ไม่ใช่ฮานาก้า) ทำหน้าที่จัดการเกียวกับสัญญาณวิทยุเกือบทั้งหมด และจะทำงานร่วมกับพวก Oscillator, Filter และวงจรของ 1800 กับ 900 ซึ่งแยกกันด้วย
- Audio IC จัดการเกี่ยวกับเสียงติดต่อกับไมค์และลำโพง
- RF Power Amplifier บางครั้งก็เรียก PA เฉย ๆ ใช้ขยายสัญญาณวิทยุก่อนป้อนให้สายอากาศ (Ant. Switch) โดยมี Transformer ตัวเล็ก ๆ ทำหน้าที่ส่งผ่านกำลังไปให้
- Power IC ปกติเรียกว่า CCONT ใช้เปิดปิดเครื่องและจ่ายไฟให้ภาคต่าง ๆ ทั้งหมด ยกเว้น PA และยังทำหน้าที่ติดต่อซิมการ์ดอีกด้วย
- UI IC ใช้ควบคุมพวกหน้าจอ LCD หลอด LEDs ปุ่มกดต่าง ๆ และ บัซเซอร์
- Charging IC ควบคุมการชาร์ตแบตเตอรี่ (ถ้าชาร์ตแบตไม่เข้าให้สงสัยตัวนี้เป็นอันดับแรกถ้าแบตเตอรี่ดีนะ)

เดี๋ยวถ่ายรูปมาให้ดูกัน

Wednesday, March 08, 2006

โต๊ะคอมแบบนี้น่าจะดี

เคยเข้าอบรมเกี่ยวกับท่านั่งในการใช้คอมพิวเตอร์ให้ถูกหลักสรีรศาสตร์ แต่ก็ทำเหมือนที่เขาบอกไม่ได้ เพราะเครื่องใช้สำนักงานและอุปกรณ์อื่น ๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาตามหลักสรีรศาสตร์ ช่วงหลังเริ่มมีอาการปวดหลัง วันนี้ไปเจอโต๊ะคอมจาก newthrone น่าสนใจดี แต่ถ้าซื้อมานั่งทำงานที่บริษัทคงแปลกน่าดู